หลังจากเรารู้จัก Innovation 2 ชนิดมาแล้ว คือ Efficiency Innovation และ Sustaining Innovation วันนี้มาทำความรู้จักนวัตกรรมประเภทที่ 3 และเป็นประเภทสุดท้าย นั่นก็คือ Transformative Innovation ว่าคืออะไร และ แตกต่างจาก 2 ประเภทแรกอย่างไรกันครับ
1. Transformative Innovation คืออะไร
Transformative Innovation คือ การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ที่ปฏิรูปการทำธุรกิจเดิม หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจเดิมอย่างสิ้นเชิง ไปสู่ธุรกิจที่องค์กรไม่เคยทำ และ (น่าจะ) มีอนาคตมากกว่าโมเดลธุรกิจปัจจุบัน
ซึ่งความว่า Transformative มาจากรากศัพท์คำว่า Transform ที่มักได้ยินเป็นประจำ เช่น คำว่า Digital Transformation ที่แปลว่า เปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นดิจิตอล (จาก Analog) นั่นเอง
นวัตกรรมที่เป็น Transformative Innovation จึงเป็นนวัตกรรมที่องค์กรพัฒนาขึ้น เพื่อขยายตลาดไปสู่ธุรกิจใหม่ที่องค์กรไม่เคยทำ ไม่ได้อิงอยู่กับโมเดลธุรกิจเดิมขององค์กร แต่องค์กรเห็นโอกาสว่า เป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง มีอนาคตแน่ๆ ทำให้บางครั้ง Transformative Innovation ถูกเรียกในอีกชื่อว่า Growth Innovation เพื่อสื่อว่า เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโตขององค์กรในอนาคต
2. ตัวอย่าง Transformative Innovation
ตัวอย่าง Transformative Innovation ต้องยกตัวอย่างมาจาก Amazon.com จากบันทึกเรื่อง Sustaining Innovation คืออะไร ที่เล่าว่า Amazon.com มีการปรับรูปแบบธุรกิจทั้ง
- Efficiency Innovation ที่มีการใช้หุ่นยนต์ในการจัดการคลังสินค้า ที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโมเดลธุรกิจเดิม และ
- Sustaining Innovation คือ การพัฒนา Kindle เพื่อขยายตลาดใหม่ไปยังตลาด e-book ซึ่งเป็นตลาดใหม่ แต่ยังอิงอยู่กับโมเดลธุรกิจเดิม
Amazon.com มีการทำ Transformative Innovation โดยพัฒนาระบบ Cloud Server คือ Amazon Web Service (AWS) ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
(อธิบาย Amazon Web Service แบบคร่าวๆ ก็คือ แทนที่บริษัทต่างๆ ซื้อคอมพิวเตอร์ขั้นเทพไว้ที่ทำงานเพื่อประมวลผลงานต่างๆ เอง ก็มาเช่าระบบ AWS กับ Amazon.com โดยจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปีแทน ซึ่ง Amazon ก็ดูแลทุกอย่างให้ และมีบริการให้เช่าหลากหลายมาก ตั้งแต่ประมวลผล การจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น)
ทำไปทำมา Amazon Web Service สร้างกำไรให้กับ Amazon.com ถึง 73% มากกว่าธุรกิจขายหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นเล่มแบบดั้งเดิมหรือแบบ e-book ที่รวมกันแล้วสร้างกำไรให้บริษัทเพียง 26% เสียอีก! เรียกว่าถ้าไม่มีการทำ Transformative Innovation ในวันนั้น กำไรของบริษัท Amazon ในวันนี้จะลดลงไปเหลือเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น!
3. ข้อดี ข้อเสีย ของ Transformative / Growth Innovation
จะเห็นได้ว่า Transformative Innovation เป็นนวัตกรรมที่พลิกโลกขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
- เป็นนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) ที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้ในอนาคต ไม่เช่นนั้นองค์กรจะอิงอยู่กับธุรกิจเดิมๆ ที่เสี่ยงต่อการโดน Disrupt เมื่อใดก็ได้
- สร้างโอกาสหารายได้ใหม่ๆ จากธุรกิจใหม่ ให้กับองค์กรตลอดเวลา
- สร้างความกระตือรือล้นให้กับทีมงาน เพราะต้องหาโอกาสธุรกิจและวิเคราะห์โอกาสขยายธุรกิจตลอดเวลา
- ปลุกความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ให้กับผู้ประกอบการอีกครั้ง เพราะองค์กรใหญ่ๆ ตั้งมาตอนแรก ก็สร้างด้วยความรู้สึกของการเป็นผู้ประกอบการนี่แหละ เพียงแต่ว่า พอองค์กรที่ผู้ประกอบการสร้างมันโตขึ้นเรื่อยๆ ความสนใจของการจัดการองค์กร เปลี่ยนไปอยู่ที่ประสิทธิภาพ (Efficiency) มากขึ้น ทำให้ละเลยความรู้สึกการเป็นผู้ประกอบการไป Transformative Innovation จะมาช่วยตรงนี้ได้
ข้อเสีย
- เสี่ยงโคตร โคตรเสี่ยง เพราะเรากำลังจะสร้างธุรกิจใหม่ที่ไม่รู้จะสำเร็จหรือเปล่า
- จะไปทำอะไรที่ไม่เชี่ยวชาญขนาดนั้น จะสู้คนที่เขาเชี่ยวชาญ focus ธุรกิจนั้นอย่างเดียวได้หรือ
- เปลืองทรัพยากร ลองนึกภาพทุ่มเงินทดลองสร้างธุรกิจใหม่ไป 1 ล้าน แล้วพบว่ามันละลายกับแม่น้ำไป
- ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจเรื่อง Innovation อย่างแท้จริง กลายเป็นว่าพอพัฒนาธุรกิจใหม่ นวัตกรรมใหม่ไม่สำเร็จ กับกลายเป็นความผิดของหัวหน้าทีมนวัตกรรมไปเสียอีก
เมื่อพิจารณา ข้อดี ข้อเสีย เหล่านี้ แต่ละองค์กรก็ต้องลองพิจารณาว่า ควรจะทำ Transformative Innovation หรือเปล่า ถ้าธุรกิจดูแล้วยังไม่มีแววจะโดน Disruption แน่ๆ จะอยู่ไปแบบเดิมจะดีกว่าไหม หรือ จะขยายทำอะไร ก็ต้องตอนที่มีเงินนี่แหละ ถ้าถูก Disrupt ไปแล้ว ตอนนั้นจะเอาเงินที่ไหนไปทำเล่า
อันนี้อยู่ที่ Mindset ของผู้บริหารเลยครับ
4. แนวทางการทำ Transformative Innovation
ถ้าเราสนใจ อยากทำ Transformative Innovation ไม่ใช่อยู่ๆ จะไปทำได้เลยครับ เราต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานหลายๆ อย่าง รวมถึงต้องมี Mindset หลายๆ เรื่อง เช่น
- Business Model Innovation Portfolio Management เพื่อช่วยให้เรารู้จักการจัดการความเสี่ยง ของนวัตกรรมธุรกิจใหม่ๆ ได้
- Strategic Foresight จะได้รู้จักเทรน รู้จัก Megatrends ใหม่ๆ
- Risk / Return Management ความเสี่ยงที่เกิด กับรายได้ที่ได้ คุ้มใหม่ที่จะทำ
- Feasibility Analysis ช่วยให้เราทราบความเป็นไปได้ของธุรกิจใหม่ว่ามีความเป็นไปได้จริงแค่ไหน อย่างไร
- Testing Business Idea เพราะการลดความเสี่ยงของ Business Model จะช่วยให้เรากรองโมเดลธุรกิจที่ดูแล้วไม่น่าจะสำเร็จได้ ตั้งแต่ยังขาดทุนไม่เยอะ
- Entrepreneur Mindset ต้องพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการให้พนักงานในองค์กรด้วย ซึ่งเกี่ยวเนื่องการวัดผล การให้ผลตอบแทน และ เรื่องวัฒนธรรมองค์กร ด้วย
- ฯลฯ
หากเราทำ Transformative Innovation โดยไม่มีความรู้เหล่านี้ มีโอกาสสูงมาก ที่จะเป็นการ “ตำน้ำพริก ละลายแม่น้ำ” ดังนั้น ถ้าอยากทำ Transformative Innovation สิ่งสำคัญ คือ อย่าใจร้อน ลองดูรอบตัวเราก่อน ว่า “เรา” และ “คนที่ทำงานกับเรา” ซึ่งรวมถึงหัวหน้า ลูกน้อง สภาพแวดล้อมต่างๆ พร้อมหรือยัง
ปล. อยากลองสร้าง Transformative Innovation ในองค์กรตัวเองบ้าง สามารถติดต่อผู้เขียนเพื่อทำ workshop เกี่ยวกับนวัตกรรมและนวัตกรรมโมเดลธุรกิจได้ครับ
63636363636363636363636363
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านมากครับ เรื่อง Innovation เป็นเรื่องสนุกและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างคุณค่า (Value Proposition) ซึ่งยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจกว่านี้อีกมาก ถ้าอยากอ่านเรื่องอื่นเกี่ยวกับ value proposition design และ business model รวมถึงเรื่อง strategy เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ
หากผู้อ่านอยากรู้เรื่องการสร้าง นวัตกรรม (innovation) แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ
บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) สามารถอ่านเรื่องอื่นในซีรีย์เพิ่มเติมได้จาก link
Business Model and Business Model Innovation
Innovation Series
- นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร
- S Curve คืออะไร
- The New S Curve คืออะไร
- Innovation Adoption คืออะไร
- นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Innovation) คืออะไร
- นวัตกรรมเพื่อต่อยอด (Sustaining Innovation) คืออะไร
- นวัตกรรมเพื่อธุรกิจใหม่ (Transformative Innovation) คืออะไร
Business Model Series
- Business Model คืออะไร
- Business Model คืออะไร: Alex Osterwalder Masterclass in Thailand
- Business Model Canvas คืออะไร
- Business Model กับ Business Plan ต่างกันอย่างไร
- กลุ่มลูกค้า (Customer Segments) คืออะไร
- ทรัพยากรหลัก (Key Resources) คืออะไร
- กระแสรายได้ (Revenue Streams) คืออะไร
Business Model Innovation Series
- Business Model Innovation คืออะไร
- Business Model Innovation มีกี่แบบ
- Business Model Shift คืออะไร
- กลุ่มลูกค้าย่อย (Customer Micro Segmentation) คืออะไร
- โมเดลธุรกิจขยายตัว (Scalable Business Model) คืออะไร
- Unfair Advantage คืออะไร
Leave a Reply