Scenario Analysis : Super Worst Case Scenario คืออะไร

by

— last updated:

first published:

เราคงเคยได้ยินคำว่า “Expect for the Best, Prepare for the Worst” หรือ คาดหวังว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในทางที่ดี แต่เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ทางที่แย่ที่สุดไว้ แต่คำว่า “แย่ที่สุด” หรือ Super Worst Case Scenario มันคือแย่แค่ไหนกัน? วันนี้เราจะมาคุยเรื่อง Super Worst Case Scenario ครับ แต่ก่อนอื่นต้องรู้จัก Scenario Analysis เบื้องต้นก่อน

1. Scenario Analysis คืออะไร

Scenario Analysis หรือ การวิเคราะห์ฉากทัศน์ คือ การคาดการณ์เหตุการณ์ในเรื่องที่ศึกษาว่า จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นได้บ้างในอนาคต

Scenario Analysis หรือ การวิเคราะห์ฉากทัศน์ คือ การคาดการณ์เหตุการณ์ในเรื่องที่ศึกษาว่า จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นได้บ้างในอนาคต

โสภณ แย้มกลิ่น

Scenario Analysis ใช้ได้ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว ไปถึงเรื่องธุรกิจ โดยเรามักแบ่งการคาดการณ์ฉากทัศน์เป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ

  1. ปกติ เป็นไปตามที่คาดไว้ (Base Case หรือ Normal Case)
  2. ดีกว่าที่คาด (Best Case)
  3. แย่กว่าที่คาด (Worst Case)

หรือแบ่งให้ถี่หน่อยก็ได้ เช่น เพิ่ม ดีกว่าที่คาดมากๆ แย่กว่าที่คาดมากๆ ก็จะมี 5 Scenarios แทนที่จะเป็น 3 Scenarios ก็ได้ครับ

ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว คนไทยมีการทำ Scenario Analysis ในด้าน Best Scenario กันโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว ว่า ถ้าฉันถูกหวยรางวัลที่ 1 งวดนี้ ฉันจะทำอะไรบ้างนั่นแหละครับ

2. Scenario Analysis ในทางธุรกิจ

ในทางธุรกิจ การพยากรณ์ (Forecast) เป็นสิ่งที่หลายองค์กรทำเป็นประจำทุกปี โดยอาจอยู่ในลักษณะของแผนกลยุทธ์ แผนงบประมาณ หรือ แผนการดำเนินงาน เป็นต้น

โดยเฉพาะฝ่ายการเงิน ที่มักจะวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Scenario Analysis) อยู่แล้ว

เช่น ถ้าสถานการณ์ปกติ รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรจะเป็นเท่าไหร่ ถ้าสถานการณ์ดีมาก กำไรจะเป็นเท่าไหร่ ถ้าสถานการณ์เลวร้ายมาก กำไรจะเป็นเท่าไหร่ เป็นต้น ภาษาอังกฤษเรามักใช้คำว่า Base Case / Best Case / Worst Case Scenario

3. ขั้นตอนการทำ Scenario Analysis

  1. เริ่มการวางแผนว่าจะทำกี่ Scenario เช่น จะทำ 3 Scenarios คือ ปกติ/ดี/แย่ หรือ จะทำ 5 Scenarios คือ ปกติ/ดี/ดีมาก/แย่/แย่มาก สมมติว่าทำ 3 แล้วกันนะ
  2. ขั้นถัดไป คือการตั้งสมมติฐาน (assumption) ว่าแต่ละสถานการณ์ คือ ปกติ/ดีมาก/แย่มาก จะมีสมมติฐานอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น สถานการณ์ปกติยอดขายจะโต 5% ต้นทุนเท่าเดิม ถ้าสถานการณ์ดีมากยอดขายโต 20% ต้นทุนลดลง 2% ถ้าสถานการณ์แย่มากยอดขายติดลบ 10% ต้นทุนเพิ่ม 10% เป็นต้น โดยอาจมีสมมติฐานที่หลากหลายกว่ายอดขายก็ได้ เช่น ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ราคาขาย ฯลฯ
  3. หลังจากนั้นดูต่อว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นตามนั้นจะมีผลกระทบต่อด้านใดบ้าง เช่น ด้านการเงิน ด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น
  4. เสร็จให้ค่อยวางแผนว่า แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์และผลกระทบตามนั้นจริงๆ เราจะวางแผนอย่างไรให้อยู่รอดได้

ลองดูขั้นตอนและตัวอย่างพอสังเขปนะ ในนี้ยกตัวอย่างให้ดูแค่ 1 Scenario คือแย่มาก แต่เวลาทำจริงต้องเขียนให้ครบทุก Scenario ครับ

1. กำหนด Scenario2.คาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดใน Scenario นั้น3.คาดการณ์ผลกระทบในด้านต่างๆ 4.วางแผนรับมือ
แย่มาก– ยอดขายลดลง 20%
– ต้นทุนลดลง 10%
– บริษัทขาดทุน 20 ล้านบาท
– จะขาดสภาพคล่องใน 3 เดือน
– เร่งหาลูกค้ากลุ่มใหม่
– ขอขยายวงเงินสินเชื่อไว้ล่วงหน้า
ตัวอย่างตาราง Scenario Analysis แบบคร่าวๆ

ถ้าเป็นการวิเคราะห์ทางการเงินหรือเศรษฐศาสตร์จะมีขั้นตอนต่อไปอีกเช่น การให้ค่าความเป็นไปได้ที่จะเกิดสถานการณ์ การวิเคราะห์ผลตอบแทนต่างๆ เช่น NPV, IRR, EIRR ของแต่ละสถานการณ์ หรือ สัดส่วนทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ ซึ่งขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ครับ

4. Worse Case Scenario กับ โควิด-19

ปรากฎการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในทุกด้าน ทั้งสังคม การเมือง สาธารณสุข เทคโนโลยี ไม่เว้นแม่แต่ศาสนาที่ญาติโยมไม่สามารถไปใส่บาตรที่วัดได้ตามปกติ แต่ผลกระทบด้านหนึ่งที่สำคัญคือด้านเศรษฐกิจและธุรกิจทุกภาคส่วน

ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว การบิน และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องการการท่องเที่ยวของประเทศไทย ที่เติบโตมาต่อเนื่องมาหลายสิบปี คงนึกไม่ถึงว่าจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกอย่างไปอยู่ที่ 0 คือไม่มีลูกค้าเลยได้

เหตุการณ์หนักๆ ที่ผ่านมาในอดีต เช่น สึนามิ, ไข้หวัดนก, หรือเหตุการณ์ประท้วงทางการเมือง ฯลฯ ก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนี้ เรียกว่าโควิด-19 อยู่นอกเหนือจากการคาดการณ์ขององค์กรธุรกิจทั้งหมด

Super Worst Case Scenario คืออะไร เคยคิดไหมว่ายอดผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวจะเป็น 0 คน
Super Worst Case Scenario คืออะไร เคยคิดไหมว่ายอดผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวจะเป็น 0 คน

อย่างไรก็ตาม คำว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (worst case scenario) ที่เกือบทุกองค์กรทำไว้ จะเป็นการพยากรณ์อนาคตจากข้อมูลในอดีตภายใต้สมมติฐานว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ ยังเหมือนเดิม

ซึ่งจุดอ่อนของการพยากรณ์แบบ Forecast คือ จะไม่แม่นยำเลยหากสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนในอดีต เกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ซึ่งโควิด-19 คือหนึ่งในสถานการณ์นั้นที่มา Disrupt ทุกอย่างของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เชื่อว่ามีองค์กรเพียงน้อยรายที่ตั้งสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (worst case scenario) ไว้ในระดับรายได้เหลือ 0

5. Super Worst Case Scenario คืออะไร

เมื่อเราไม่ได้คิดสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดไว้ในระดับที่ “เลวร้ายที่สุดของที่สุด” จริงๆ ทำให้เราไม่มีแผนการรับมือ ไม่มีแผนการจัดการความเสี่ยง ไม่มีแนวทางการปรับธุรกิจหากรายได้ในช่องทางปกติเหลือ 0 ทุกอย่างต้องปรับเปลี่ยนกันหน้างาน ซึ่งหลายองค์กรไม่สามารถอยู่รอดได้เพราะไม่ได้เตรียมการอะไรไว้เลย

ดังนั้น Super Worst Case Scenario คือ การคิดสถานการณ์ว่า หากเกิดเหตุการณ์เลยร้ายสุดๆ (ยอดขายเหลือ 0) จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อองค์กร และเราจะรับมือกับมันอย่างไร

Super Worst Case Scenario คือ การคิดสถานการณ์ในอนาคต ว่าหากเกิดเหตุการณ์เลยร้ายสุดๆ (ยอดขายเหลือ 0) จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อองค์กร และเราจะรับมือกับมันอย่างไร

โสภณ แย้มกลิ่น

ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว ทุกคนควรเตรียมเหตุการณ์แบบ Super Worst Case Scenario ไว้บ้างครับ เช่น เราจะเสียชีวิต ครอบครัวคนใกล้ชิดเสียชีวิตกระทันหัน โดนฟ้องล้มละลาย ฯลฯ ซึ่งโดยมากเรามักไม่ทำ แถมจะคิดถึง Best Case Scenario ไว้เสียด้วยซ้ำ

ถ้าศึกษาศาสนาพุทธ จะพบว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราเจริญมรณสติ คือ ระลึกถึงความตายเสมอ เป็นการฝึกให้เรามองโลกตามความเป็นจริงได้อย่างครบถ้วนทุก Scenario เลยครับ

6. Strategic Foresight กับ Super Worst Case Scenario

ผู้อ่านอาจสงสัยว่า แล้วจะมีใครที่ไหนที่เตรียมการว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบโควิด-19 นี้ด้วยหรือ?

คำตอบคือ มีครับ

ผู้เขียนได้อ่านรายงาน การมองอนาคต (Foresight Report) ของสถาบันต่างประเทศแห่งหนึ่ง ที่ทำไว้เกือบ 20 ปีแล้ว

สถาบันนี้มองอนาคตไว้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคระบาดทั่วโลก แล้วคนที่ติดโรคแล้วจะไม่สามารถออกจากบ้านได้เลยตลอดชีวิต

โควิด-19 อาจจะไม่ถึงขั้นนั้นก็จริง แต่มีนักธุรกิจได้ใช้ประโยชน์จากการมองอนาคตนั้น คิดธุรกิจสำหรับคนที่ต้องอยู่บ้านตลอดไปเผื่อไว้แล้ว รวมถึง Business Model รูปแบบต่างๆ เผื่อไว้แล้ว ว่าต้องปรับเปลี่ยน Business Model อย่างไรบ้างหากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นจริง

ดังนั้น บทเรียนจากโควิด19 รอบนี้ ทำให้องค์กรในทุกระดับ ตั้งแต่รัฐบาล สภาอุตสาหกรรม รวมถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องปรับการคิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดของที่สุด (Super Worst Case Scenario) โดยไม่พึ่งพิงข้อมูลในอดีต (Forecast) แต่ใช้การมองอนาคต (Foresight) แทน

ตัวอย่างเช่น ถ้าโรคระบาดโควิด19 กลายพันธุ์และกลับมาระบาดใหม่อยู่เรื่อยๆ ทุก 6 เดือนต่อไปอีก 10 ปี เราต้องทำอย่างไร

หรือเป็นด้านอื่นก็ได้เช่น น้ำท่วมกรุงเทพจมมิดปีนี้เลย, โลกไม่มีไฟฟ้าใช้หลายปี, หรือเหตุการณ์หลุดโลกระดับมนุษย์ต่างดาวบุกโลก ซึ่งอาจฟังดูเหมือนบ้าแต่มีคนทำ Foresight Scenario เผื่อไว้แล้วจริงๆ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เลวร้ายที่สุดของที่สุด (Super Worst Case Scenario) ควรตั้งอยู่บนหลักของ Foresight ผ่านเครื่องมืออย่างวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่มโนเอาเองโดยไม่มีหลักอะไรเลย

การ Foresight จึงไม่ใช่การเดามั่วแต่มีขั้นตอนการอย่างเป็นระบบ หากผู้อ่านสนใจไว้วันหลังจะมาเล่ากระบวนการ Foresight ให้ฟังนะครับ

63636363636363636363636363

อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านทุกคนมาก ถ้าอยากอ่านเรื่อง Scenario Analysis รวมไปถึงการออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) และนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ

หากผู้อ่านอยากรู้เรื่องการจัดการกลยุทธ์แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ

โสภณ แย้มกลิ่น (Sophon Yamklin) Avatar

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *